สำนักงานใหญ่
สำนักงานใหญ่
086-4912-980 Mon - Fri 08:00 - 17:00 118/53 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนิติบุคคล
The Best
#1 in ในภาคใต้

ขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะระบบเปียก

ขั้นตอนที่1 ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing) 

  เมื่อเราทำการตั้งสามขา (Tripod Rig) เข้าตรงตามตำแหน่งแล้ว ให้ใช้ลูกตุ้มและตัวตัก (Bucket) เจาะนำเป็นรู้แล้วทำการตอกปลอกเหล็ก ที่มีความยาวประมาณ 120 -140 ซม. ลงดินต่อกันด้วยเกลียวจนกระทั่งถึงชั้นดินแข็งปานกลางซึ่งพอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพังทลาย 

 

 

 ในขณะลงปลอกจะทำการวัดค่าความเบี่ยงเบนแนวราบ และแนวดิ่งโดยค่าความเบี่ยงเบนที่อนุญาตให้คือ
ความเบี่ยงเบนแนวราบ  5 ซ.ม. สำหรับเข็มเดี่ยว
ความเบี่ยงเบนแนวราบ  7 ซ.ม. สำหรับเข็มกลุ่ม
ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง   1 : 100  โดยรวม

  แล้วดำเนินขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่2 การขุดดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)    
ให้ทำการใช้กระเช้าเก็บดิน ชนิดที่มีลิ้นเปิดปิด และชนิดที่ไม่มีลิ้นขุดเจาะดินจนได้ระดับความลึก ตามการออกแบบที่เราออกแบบไว้


   
ขั้นตอนที่3 เติมสารละลายเบนโทไนท์ ( Bentonite )    
โดยส่วนใหญ่จะใส่เหล็กที่มีค่าประมาณ 0.35 % – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม ส่วนทาบต่อเป็น 40 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก โดยการทาบต่อนั้นจะมัดด้วยลวด (ตามมาตรฐาน ว.ส.ท.) โดยระยะห่างไม่เกิน 20 ซม. และยกเหล็กให้พ้นจากก้นหลุม อย่างน้อย 50 ซม.
ใส่สารละลายเบนโทไนท์ ( Bentonite ) ลงไปในหลุมเจาะ ให้อยู่สูงกว่าระดับน้ำใต้ดิน โดยสารละลายเบนโทไนท์มีคุณสมบัติดังนี้

Density มีค่า 1.02 – 1.04gm./ml.

Viscosity มีค่า 30 – 90sec.

Ph value มีค่า > 7


   
ขั้นตอนที่4 ลงเหล็กเสริมขนาดและความยาวตามที่กำหนด    
โดยส่วนมากเราจะใส่เหล็กที่มีค่าประมาณ 0.35 % – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม ส่วนทาบต่อเป็น 40 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก โดยการทาบต่อนั้นจะมัดด้วยลวด (ตามมาตรฐาน ว.ส.ท.) โดยให้มีระยะห่างไม่เกิน 20 ซม. และยกเหล็กให้พ้นจากก้นหลุม อย่างน้อย 50 ซม. แล้วดำเนินขั้นตอนต่อไป


   
ขั้นตอนที่5 การเทคอนกรีต    
ก่อนการเทคอนกรีตให้ทำการใส่เม็ดโฟมลงไปก่อน เพื่อให้ทราบว่าคอนกรีต กับสารละลายเบโทไนท์แยกกันจะทำเราให้ทำงานสะดวกขึ้น เสร็จแล้วเทปูน ลงในกรวยเทปูน  (Hopper) พร้อมทั้งคอยตัดท่อลำเลียง (Tremie) เพื่อให้คอนกรีตไหลลงแบบต่อเนื่อง  ส่วนค่า Slump นั้น อยู่ระหว่าง 15-20 ซม. แล้วแต่การออกแบบและน้ำยาผสมคอนกรีตผสมเสร็จแต่ละบริษัท


   
ขั้นตอนที่6 การถอนปลอกเหล็กด้วยรอกพ่วง    
การเทคอนกรีตนั้นเราควรจะเทให้สูงกว่าปลายปลอกเหล็ก 3-5 เมตร เพื่อป้องกันการยุบตัวของคอนกรีต โดยสลับการถอนปลอกเหล็กจนหมด และควรเทคอนกรีตเพื่อการสกัดหัวเสาเข็ม ในส่วนที่มีสิ่งสกปรกออกอย่างน้อยประมาณ 1 เท่าของเส้นผ่านศูนย์ เมื่อเสร็จแล้วดำเนินขั้นตอนต่อไป


   
ขั้นตอนที่7 เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจาะเสาเข็ม    
เมื่อเสร็จสิ้นการเจาะเข็มแล้ว เข็มต้นต่อไปจะต้องอยู่ห่างจากเข็มที่เจาะเสร็จแล้วไม่น้อยกว่า 6 เท่าของ  เส้นผ่าศูนย์กลางและต้องมีเวลาให้คอนกรีตเซ็ทตัวไม่ต่ำกว่า 24 ชม. เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเจาะเสาเข็มแบบเปียก

ทดสอบเสาเข็ม ตรวจเสาเข็ม ทดสอบดิน เจาะสำรวจดิน
ทดสอบเสาเข็ม ตรวจเสาเข็ม ทดสอบดิน เจาะสำรวจดิน
About the author