สำนักงานใหญ่
สำนักงานใหญ่
086-4912-980 Mon - Fri 08:00 - 17:00 118/53 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนิติบุคคล
The Best
#1 in ในภาคใต้

ขั้นตอนการเจาะเสาเข็มเจาะ

1. ติดตั้งเครื่องมือเข้าศูนย์กลางของเสาเข็มเจาะ

          ปรับตั้งเครื่องมือเสาเข็มเจาะแบบสามขา ให้ได้ตรงตามแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อปรับตั้งและทำการตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกเสาเข็มหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึก (PRE – BORE) ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร

2. ลงปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing)

        เมื่อตั้งเครื่องมือเสาเข็มเจาะแบบสามขา (Tripod Rig) เข้าตรงตามตำแหน่งแล้ว ใช้ลูกตุ้มและตัวตัก (Bucket) เจาะนำเป็นรูแล้วตอกปลอกเหล็กที่มีความยาวประมาณ 1.20 – 1.40 เมตร ลงดินต่อกันด้วยระบบเกลียวจนกระทั่งถึงชั้นดินแข็งปานกลาง พอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพังทลาย ในขณะลงปลอกจะทำการวัดค่าความเบี่ยงเบนแนวราบและแนวดิ่งโดยค่าความเบี่ยงเบนที่อนุญาตให้คือ

  • ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 ซม. สำหรับเข็มเดี่ยว
  • ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 ซม. สำหรับเข็มกลุ่ม
  • ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100 โดยรวม

3. การขุดดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)

          การขุดดินด้วยกระเช้าจะใช้กระเช้าเก็บดินชนิดที่มีลิ้นเปิด-ปิด และชนิดที่ไม่มีลิ้น ในช่วงดินอ่อนจะใช้กระเช้าชนิดมีลิ้นที่ปลายเก็บดินโดยใช้น้ำหนักของตัวมันเอง เมื่อกระเช้าถูกทิ้งไปในรูเจาะ ดินจะถูกอัดให้เข้าใปอยู่ในกระเช้า ทำซ้ำกันเรื่อย ๆ จนดินถูกอัดเต็มกระเช้าจึงนำมาเทออก การเจาะจะดำเนินไปจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง จึงเปลี่ยนมาใช้กระเช้าชนิดไม่มีลิ้นที่ปลายเก็บต่อไปจนได้ความลึกที่ต้องการ ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมักจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 18 –21เมตร (ขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่)

4. ลงเหล็กเสริม

          โดยส่วนใหญ่จะใส่เหล็กข้ออ้อย (SD30, SD40) ที่มีค่าประมาณ 0.35% – 1.00% ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม ส่วนทาบต่อของเหล็กข้ออ้อยเป็น 40 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก โดยการทาบต่อนั้นจะมัดด้วยลวด โดยระยะห่างไม่เกิน 20 ซม.(ตามมาตรฐาน ว.ส.ท.)  และยกเหล็กให้พ้นจากก้นหลุมอย่างน้อย 50 ซม. หรือให้ใส่เหล็กเสริมตามแบบของวิศวกรผู้ออกแบบ โดยให้ใส่เหล็กเสริมที่ผูกสำเร็จเป็นโครงไว้แล้ว ลงไปในรูเจาะใส่ต่อกันไปจนได้ความยาวตามแบบ เหล็กเสริมนี้จะใส่ SPACER ที่ทำด้วยลูกปูน ไว้เป็นระยะเพื่อช่วยประคองโครงเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะ

5. การเทคอนกรีต

          การเทคอนกรีตนั้นต้องให้สูงกว่าปลายปลอกเหล็ก3-5เมตรเพื่อป้องกันการยุบตัวของคอนกรีตโดยสลับกับการถอนปลอกเหล็กจนหมด และควรเทคอนกรีตเผื่อการสกัดหัวเสาเข็ม ในส่วนที่มีสิ่งสกปรกออกอย่างน้อยประมาณ 1-3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ

6. การถอนปลอกเหล็กด้วยรอกพ่วง

          การถอนปลอกเหล็ก จะถอนออกโดยใช้ระบบรอกพ่วง ซึ่งจะดำเนินการถอนออก ทีละท่อนๆในระหว่างการถอนควรระมัดระวังมิให้เศษวัสดุอื่นตกหล่นลงในหลุมเจาะ  และควรตรวจสอบระดับคอนกรีตให้สูงกว่าระดับปลายปลอกเหล็กด้วย

7. เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจาะเสาเข็ม

          เมื่อเสร็จสิ้นการเจาะเข็มแล้ว เข็มต้นต่อไปจะต้องอยู่ห่างจากเข็มที่เจาะเสร็จแล้วไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและต้องมีเวลาให้คอนกรีตเซ็ทตัวไม่ต่ำกว่า 24ชม.

Cr. https://www.pkspunmicropile.com/article/28

About the author